ลาบ

ลาบ


             ลาบ เป็นหนึ่งในอาหารพื้นบ้านแถบตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่เป็นที่นิยมมาก นอกจากรสชาติที่อร่อยมากมายแล้ว ชื่อก็เป็นมงคลยิ่งนัก เมนูลาบจึงเป็นพระเอกสำคัญในงานบุญ งานมวคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป้นงานทำบุญบ้าน, งานแต่ง, เป็นต้น ความหอมของข้าวคั่ว บวกกับกลิ่นของสมุนไพรที่ใส่ลงไป ปรุงรสด้วยพริกและมะนาว ทำให้ได้รสชาติที่จัดจ้าน ทานพร้อมข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยถูกใจยิ่ง


          ส่วนผสม
          - หมูสับ
          - กระเทียมสับ
          - ปลีกล้วย
          - หอมแดง
          - ข่า
          - ผักไผ่
          - ต้นหอมซอย
          - สาระแหน่
          - พริกขี้หนู
          - พริกป่น
          - น้ำปลาร้า
          - มะนาว
          - ข้าวคั่ว  
       
            วิธีทำ
             - นำหมูสับ 100 กรัม ผสมน้ำเปล่า 7 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา 2 ช้อนชา แล้วนำไปรวนพอสุก ตักใส่ชาม พักไว้
          - นำหมูรวนและตับใส่ในชามผสม ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย พริกป่น ปลีกล้วยและข้าวคั่วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นตามด้วยหอมแดงซอย ผักชีฝรั่งซอย และใบมะกรูดซอยคลุกเคล้าเบา ๆ อีกครั้ง ก่อนเสิร์ฟโรยด้วยใบมะกรูดซอยและใบสะระแหน่
           


          ประโยขน์
          -มะนาวถือเป็นพืชที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะมะนาวมีส่วนช่วยในรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยแก้อาเจียนอันเนื่องมาจากความผิดปกติของธาตุในร่างกาย รักษาอาการลมเงียบ รักษาอาการตาแดง ช่วยบรรเทาอาการไข้
         -เนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์ที่อุดมด้วยโปรตีนและสารอาหารต่างๆรวมทั้งกรดไขมันและโคเลสเตอรอล 
 -ต้นหอมสรรพคุณช่วยป้องกันไขมันไม่ให้เกาะตามผนังเส้นเลือดช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเหลือหัวใจและโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน นอกจากนั้นยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและยังไปเพิ่มหรือช่วยสร้างคอเลสเตอรอลดี หรือ HDL ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน
     -พริกมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย  ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นและมี วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
       -น้ำปลาไม่เพียงแต่ช่วยเติมแต่งรสชาติอาหารเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์อยู่ด้วย เช่น
-โปรตีนหรือกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไลซีน (Lysine) และกรดอ็อกซิลิค วิตามิน บี 12 สารประกอบไนโตรเจน และเกลือแแร่อื่นๆ (แล้วแต่การปรุงแต่ง)